วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ทฤษฎีการบริหาร (Management Theory)

ทฤษฎีการบริหาร (Management Theory)ทฤษฎีการบริหาร สามารถเรียงลำดับความพัฒนาการศึกษาแต่ละแนวคิดได้ดังนี้

1. การศึกษาการบริหารแบบคลาสสิค (Classical management approach)

  • การจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ (Scientific management)
  • การจัดการตามระบบราชการ (Bureaucratic management)
  • การจัดการตามแบบหลักการบริหาร (Administrative management)

2. การศึกษาการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral management approach)- การศึกษาทางจิตวิทยาอุตสาหกรรม (industrial psychology approach)

  • ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ (Hierarchy of needs theory) หรือทฤษฎีการจูงใจของมาสโลว์ (Maslow'stheory of motivation)
  • ทฤษฎี X และทฤษฎี Y

3. การศึกษาการจัดการเชิงปริมาณ (The quantitative management approach)- ศาสตร์การจัดการ(Management science) หรือการวิจัยการปฏิบัติการ (Operation research)

  • การจัดการปฏิบัติการ(Operations management)
  • ระบบข้อมูลการจัดการ(Management System : MIS)

4. กลุ่มทฤษฎีการบริการ ที่เพิ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาในระยะหลังๆ(Recent development in managementtheory)

  • ทฤษฎีระบบ(System theory)
  • ทฤษฎีจัดการเชิงสถานการณ์(Contingency theory)
  • ทฤษฎี Z ของ Ouchi- TQM : Total Quality Management

@ ทฤษฎีการศึกษาการบริหารแบบคลาสสิค(Classical management approach)การศึกษาการบริหารโดยทฤษฎีกลุ่มนี้ เป็นทฤษฎีที่มุ่งเน้นองค์การโดยรวมและวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลทฤษฎีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ (Scientific management)Frederick W. Taylor (1856-1915)เทย์เลอร์ ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ ปรัชญาการบริหารของเทย์เลอร์ได้แก่

  1. ทำการศึกษางานแต่ละส่วนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานแต่ละอย่าง
  2. ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงานและมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน
  3. มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
  4. แบ่งงานและความรับผิดชอบในงานเป็นส่วนต่าง ๆเทย์เลอร์ได้พัฒนาวิธีการจ่ายค่าจ้างต่อหน่วยแบบสองระดับ(Different rate system) ขึ้นมา

Henry L. Gantt (1861-1919)Gantt ได้พัฒนาวิธีจ่ายค่าตอบแทนแบบใหม่ ไม่ได้ใช้วิธีจ่ายค่าจ้างแบบสองระดับเหมือนเทย์เลอร์แต่ใช้วิธีให้สิ่งจูงใจGantt เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในฐานะเป็นผู้พัฒนาวิธีการอธิบายแผนโดยกราฟ(Gantt Chart)ซึ่งได้นำมาใช้ในการอธิบายถึงการวางแผน การจัดการ และการควบคุมองค์การที่มีความซับซ้อน โดยพัฒนามาเป็นCritical Path Method(CPM) ของบริษัท Du Pont และ Program Evaluation and Review Technique(PERT)ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา หรือได้พัฒนาประยุกต์มาจนเป็นเป็นโปรแกรม Lotus 1-2-3

Frank B. And LillianM. Gilbreth (1868-1924 & 1878-1972)Gilbreths เป็นอีกคู่หนึ่งที่สนใจศึกษาในเรื่องเวลาและการเคลื่อนไหวพวกเขาได้นำกล้องถ่ายรูปและภาพถ่ายมาใช้ศึกษาลักษณะการทำงานของมนุษย์ทฤษฎีการจัดการตามระบบราชการ (Bureaucratic management)Max Weber (1864-1920)องค์การควรจะถูกบริหารบนพื้นฐานของเหตุผล และไม่เป็นส่วนตัวลักษณะที่สำคัญขององค์การแบบราชการของเวเบอร์ คือ

  • มีการแบ่งงานกันทำเฉพาะด้าน
  • มีการระบุสายการบังคับบัญชาอย่างชัดเจน
  • บุคคลจะถูกคัดเลือกและเลื่อนตำแหน่งบนพื้นฐานของคุณสมบัติทางเทคนิค
  • การบริหารกับการเป็นเจ้าขององค์การจะถูกแยกจากกัน
  • ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่บนพื้นฐานของความไม่เป็นส่วนตัว
  • มีการกำหนดกฎและระเบียบวิธีปฏิบัติการไว้อย่างเป็นทางการทฤษฎีการจัดการตามแบบหลักการบริหาร (Administrative management)Henri Fayol (1841-1925)เป็นบิดาของทฤษฎีการจัดการการปฏิบัติการ(Operational management theory)หรือบางทางก็ถือกันว่าเป็นบิดาของการบริหารจัดการสมัยใหม่เขาเชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ และเขาสนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ (Managerial activities) ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมห้าอย่างคือการวางแผน(Planning), การจัดองค์การ(Organizing), การบังคับบัญชา หรือการสั่งการ (Commanding),การประสานงาน (Coordinating), และการควบคุม (Controlling)

@ ทฤษฎีการศึกษาการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์(Behavioral management approach)การบริหารเชิงพฤติกรรม จะมุ่งการเพิ่มประสิทธิภาพโดยการทำความเข้าใจมนุษย์ถ้าผู้บริหารได้เข้าใจพฤติกรรมของบุคคลและปรับองค์การให้สอดคล้องกับพวกเขาแล้วความสำเร็จขององค์การก็จะตามมาเองการศึกษาทางจิตวิทยาอุตสาหกรรม(Industrial psychology approach)ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ(Hierarchy of needs theory) หรือทฤษฎีการจูงใจของ มาสโลว์(Maslow's theory of motivation)Abraham Maslow (1908-1970)มาสโลว์ เป็นนักจิตวิทยาผู้เสนอแนวความคิดว่าบุคคลได้รับการกระตุ้นโดยความต้องการและจะกระทำเพื่อให้ได้รับการตอบสนองความต้องการตามลำดับขั้นทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ(Hierarchy of needs theory) ได้แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ขั้นตามลำดับตั้งแต่ความต้องการพื้นฐานต่ำสุดไปถึงสูงสุด คือ

  1. ความต้องการทางกายภาพ(Physiological needs)
  2. ความต้องการความปลอดภัย(Safety needs)
  3. ความต้องการทางสังคม(Social needs)
  4. ความต้องการยกย่องชื่อเสียง( Esteem needs)5. ความต้องการความสมหวังและความสำเร็จของชีวิต(Self-actualization needs)ทฤษฎี X และทฤษฎี Y ของ Douglas Mc GregorDouglas McGregor (1906-1964)ทฤษฎี X(Theory X) เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม โดยมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้นไม่ชอบงานและพยายามหลีกเลี่ยงงานทฤษฎี Y(Theory Y) เป็นปรัชญาการบริการจัดการ โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบมีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงานและไม่มีความเบื่อหน่ายในการทำงานแมคเกรเกอร์ ได้เรียกร้องให้ผู้บริหารเปลี่ยนแปลงมุมมองมนุษย์จากมุมมองตามทฤษฎี X ไปเป็นมุมมองตามทฤษฎีY

@ การศึกษาการจัดการเชิงปริมาณ(The quantitative management approach)เป็นทัศนะการจัดการซึ่งนำเทคนิคทางคณิตศาสตร์ เครื่องมือสถิติและข้อมูลมาเพื่อช่วยในการแก้ปัญหาทางการบริหารจัดการศาสตร์การจัดการ(Management science) หรือการวิจัยการปฏิบัติการ(Operation research)เป็นทัศนะการบริหารเชิงปริมาณซึ่งประยุกต์ใช้โมคณิตศาสตร์ในการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆผู้ตัดสินใจจะใช้หลักเกณฑ์เชิงปริมาณในการเลือกระหว่างทางเลือกต่าง ๆ ที่มีอยู่ โดยเฉพาะในการวางแผนการจัดการปฏิบัติการ(Operations management)เป็นการบริหารซึ่งใช้เทคนิคเชิงปริมาณเพื่อปรับปรุงผลผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าและบริการเช่น การจัดการสินค้าคงเหลือ (Inventory management)เพื่อปรับปรุงการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการระบบข้อมูลการจัดการ(Management System : MIS)เป็นการบริหารจัดการที่มุ่งการเก็บรวบรวมข้อมูล และการส่งข้อมูล เพื่อสนับสนุนหน้าที่การจัดการ เช่นการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์

@ กลุ่มทฤษฎีการบริการที่เพิ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาในระยะหลังๆ(Recent development in managementtheory)ทฤษฎีระบบ(System theory)ทฤษฎีนี้เป็นทัศนะการบริหารที่มองว่าองค์การเป็นระบบที่ดำเนินงานอยู่ในสภาพแวดล้อมหมายถึงการรวมกันของส่วนต่าง ๆ ที่ดำเนินงานอยู่ระหว่างกันเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายร่วมกันระบบองค์การจะดำเนินอยู่บนพื้นฐานของส่วนประกอบห้าส่วน คือ

  1. ปัจจัยนำเข้า (Input)
  2. กระบวนการเปลี่ยนแปลง (Transformation process)
  3. ปัจจัยส่งออก (Outputs)
  4. สิ่งป้อนกลับ (Feedback)
  5. สภาพแวดล้อม (External environment)

ทฤษฎีจัดการเชิงสถานการณ์(Contingency theory)การบริหารจัดการเชิงสถานการณ์ จะมุ่งเน้นการปรับปรุงพฤติกรรมทางการบริหารให้เข้ากับสถานการณ์ขององค์การความสำเร็จหลักของการบริหารจะถูกกำหนดโดยสถานการณ์ไม่มีกลยุทธ์การบริหารอย่างเดียวที่สามารถใช้ได้กับสถานการณ์ทุกอย่างTQM : Total Quality ManagementTQM เป็นกลยุทธ์ขององค์การอย่างหนึ่งที่ส่งมอบผลิตภัณฑ์และ/หรือบริการที่มีคุณภาพให้แก่ลูกค้าการบริหารคุณภาพโดยรวมของ TQM จะมุ่งที่ลูกค้าอย่างแรงกล้าการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องนี้ถือว่าเป็นกระบวนการที่ไม่จบสิ้น จะมีการทำงานเป็นวงจร ที่เรียกว่า"วงจร เดมิ่ง" คือ วงจรของการวางแผน-ปฏิบัติ-ตรวจสอบ-แก้ไข (Plan-Do-Check-Action : PDCA)


วิวัฒนาการทางการบริหาร

วิวัฒนาการทางการบริหาร

นับจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน กระแสคลื่นการเปลี่ยนแปลงของโลกด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง รวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงสามศตวรรษที่ผ่านมา จากสังคมเกษตรเข้าสู่อุตสาหกรรม และเข้าสู่เทคโนโลยีข่าวสารข้อมูลในปัจจุบัน
- ยุคเกษตรกรรม สภาพเศรษฐกิจและสังคมเป็นสังคมแบบดั้งเดิม การผลิตด้าน การเกษตร เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ พึ่งพาธรรมชาติ สังคมเรียบง่ายไม่ซับซ้อนเป็นยุคอดีตจนก่อนการ ปฏิวัติอุตสาหกรรม
- ยุคอุตสาหกรรม มีการนำเครื่องจักรไอน้ำมาพัฒนาไปสู่เครื่องจักรกล มาใช้ เป็นพลังการผลิตแทนแรงงานคน และสัตว์ ก่อให้พลังการผลิตจำนวนมาก (Mass Production) สภาพสังคมเปลี่ยนไปสู่ การตลาดและการบริโภคนิยม ก้าวเข้าสู่ความทันสมัย สภาพสังคมซับซ้อน หลากกหลายมากขึ้น เป็นยุคสามทศวรรษก่อนปัจจุบันมีการนำเครื่องจักรไอน้ำมาพัฒนาไปสู่เครื่องจักรกล มาใช้ เป็นพลังการผลิตแทนแรงงานคน และสัตว์ ก่อให้พลังการผลิตจำนวนมาก (Mass Production) สภาพสังคมเปลี่ยนไปสู่ การตลาดและการบริโภคนิยม ก้าวเข้าสู่ความทันสมัย สภาพสังคมซับซ้อน หลากกหลายมากขึ้น เป็นยุคสามทศวรรษก่อนปัจจุบัน
- ยุคเทคโนโลยีข่าวสารข้อมูล มีการนำระบบคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงระบบโทรศัพท์ โทรสารติดต่อทั่วโลก เป็นยุคโลกไร้พรมแดนการติดต่อสื่อสารรวดเร็วเป็นยุคโลกาภิวัฒน์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายจนคนในสังคมปรับตัวไม่ทันกับคลื่นการเปลี่ยนแปลงสังคมโลก (Future Shock) เป็นยุคศตวรรษที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน มีการนำระบบคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงระบบโทรศัพท์ โทรสารติดต่อทั่วโลก เป็นยุคโลกไร้พรมแดนการติดต่อสื่อสารรวดเร็วเป็นยุคโลกาภิวัฒน์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายจนคนในสังคมปรับตัวไม่ทันกับคลื่นการเปลี่ยนแปลงสังคมโลก (Future Shock) เป็นยุคศตวรรษที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน ท ยุคโลกาภิวัฒน์เป็นยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว ด้วยพลังแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ซึ่งส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์- โลกไร้พรมแดน - เศรษฐกิจเสรี - ธุรกิจข้ามชาติ - หมู่บ้านโลก ปรากฏการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงขององค์กรจากองค์กรขนาดใหญ่เป็นองค์กรขนาดเล็ก ลดขั้นตอนการทำงานลดเอกสารที่ใช้ ลดจำนวนบุคลากร มีการแข่งขันขององค์กร เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าวิวัฒนาการทางการบริหาร การบริหารงานขององค์กรในอดีตจนถึงปัจจุบันมีการปรับ เปลี่ยนหลักทฤษฎีการบริหารมาตามลำดับ ดังนี้

- ยุคก่อนสงครามโลก ครั้งที่ 2 ทฤษฎีทางการบริหารที่นำมาใช้ คือ ทฤษฎี Adam Smith จัดแบ่งโครงสร้าง หน้าที่การแบ่งงานกันทำและปรัชญา Big is Beautiful มีองค์กรและการผลิตขนาดใหญ่ ผู้ผลิตเป็นผู้กำหนดตลาดสินค้าและบริการ
- ยุคหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 ทฤษฎีทางการบริหารที่นำมาใช้ คือ ทฤษฎี Kai Zen Demming Philosophy QC Circle ปรัชญาทางการบริหารมุ่งสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การควบคุมคุณภาพสินค้าและบริการ ตลอดจนการตรวจสอบทุกขั้นตอนการผลิต เพื่อนำไปสู่การแก้ไขข้อบกพร่องในการทำงาน- ยุคหลังปี คศ. 1980 ทฤษฎีการบริหารงานที่นำมาใช้ คือ Total Quality Management ISO 9000 Business Process Reengineering ปรัชญาการทำงานมุ่งไปสู่การสร้างสรรค์ประสิทธิภาพการทำงานทุกขั้นตอน การควบคุมคุณภาพสินค้าและบริการตามมาตรฐานที่กำหนด การผลิตที่ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการรื้อปรับระบบการทำงานใหม่ของระบบธุรกิจ เอกชน ท แนวคิดการรื้อปรับระบบ (Reengineering) เป็นการปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงานใหม่ ที่ไม่สนใจการทำงานแบบเดิมที่ผ่านมา เพื่อมุ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและก่อให้เกิดผลงานเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่า เพื่อเพิ่มผลผลิตลดเวลา ลดขั้นตอน ลดเอกสาร และลดค่าใช้จ่ายในการทำงาน ซึ่งระบบธุรกิจเอกชนนำมาใช้ปรับปรุงองค์กรในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาและเริ่มต้นนำมาใช้ในระบบราชการ (Globalization)

วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2551


การบริหาร

การบริหาร (administration) มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน “administatrae” หมายถึง ช่วยเหลือ (assist) หรืออำนวยการ (direct) การบริหารมีความสัมพันธ์หรือมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า “minister” ซึ่งหมายถึง การรับใช้หรือผู้รับใช้ หรือผู้รับใช้รัฐ คือ รัฐมนตรี สำหรับความหมายดั้งเดิมของคำว่า administer หมายถึง การติดตามดูแลสิ่งต่าง ๆ


ความหมายของการบริหาร

  • สมพงศ์ เกษมสิน ในปี พ.ศ. 2514 มีความเห็นว่า การบริหาร หมายถึง การใช้ศาสตร์และศิลป์นำเอาทรัพยากรบริหาร (administrative resource) เช่น คน เงิน วัสดุสิ่งของ และการจัดการ มาประกอบการตามกระบวนการบริหาร (process of administration) เช่น POSDCoRB Model ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ (สมพงศ์ เกษมสิน, การบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เกษมสุวรรณ, 2514), หน้า 13-14.)


  • อนันต์ เกตุวงศ์ ในปี พ.ศ. 2523 ให้ความหมายการบริหาร ว่า เป็นการประสานความพยายามของมนุษย์ (อย่างน้อย 2 คน) และทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อทำให้เกิดผลตามต้องการ (อนันต์ เกตุวงศ์, การบริหารการพัฒนา (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2523 หน้า 27.)


  • ไพบูลย์ ช่างเรียน ในปี พ.ศ. 2532 ให้ความหมายการบริหารว่า หมายถึง ระบบที่ประกอบไปด้วยกระบวนการในการนำทรัพยากรทางการบริหารทั้งทางวัตถุและคนมาดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (ไพบูลย์ ช่างเรียน, วัฒนธรรมการบริหาร (กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์, 2532), หน้า 17.)


  • ติน ปรัชญพฤทธิ์ ในปี พ.ศ. 2535 มองการบริหารในลักษณะที่เป็นกระบวนการโดยหมายถึงกระบวนการนำเอาการตัดสินใจ และนโยบายไปปฏิบัติ ส่วนการบริหารรัฐกิจหมายถึงเกี่ยวข้องกับการนำเอานโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ (ติน ปรัชญพฤทธิ์, ศัพท์รัฐประศาสนศาสตร์ (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535, หน้า 8.)


  • บุญทัน ดอกไธสง ในปี พ.ศ. 2537 ให้ความหมายว่า การบริหาร คือ การจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคล องค์การ หรือประเทศ หรือการจัดการเพื่อผลกำไรของทุกคนในองค์การ (บุญทัน ดอกไธสง, การจัดองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 2537, หน้า 1.)
การบริหาร บางครั้งเรียกว่า การบริหารจัดการ หมายถึง การดำเนินงาน หรือการปฏิบัติงานใด ๆ ของหน่วยงานของรัฐ และ/หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ (ถ้าเป็นหน่วยงานภาคเอกชน หมายถึงของหน่วยงาน และ/หรือ บุคคล) ที่เกี่ยวข้องกับคน สิ่งของและหน่วยงาน โดยครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ เช่น
  1. การบริหารนโยบาย (Policy)
  2. การบริหารอำนาจหน้าที่ (Authority)
  3. การบริหารคุณธรรม (Morality)
  4. การบริหารที่เกี่ยวข้องกับสังคม (Society)
  5. การวางแผน (Planning)
  6. การจัดองค์การ (Organizing)
  7. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Staffing)
  8. การอำนวยการ (Directing)
  9. การประสานงาน (Coordinating)
  10. การรายงาน (Reporting)
  11. การงประมาณ (Budgeting)

ช่นนี้ เป็นการนำ “กระบวนการบริหาร” หรือ “ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญต่อการบริหาร” ที่เรียกว่า แพ็มส์-โพสคอร์บ (PAMS-POSDCoRB) แต่ละตัวมาเป็นแนวทางในการให้ความหมาย

สรุป

การบริหารและการบริหารจัดการมีแนวคิดมาจากธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นสัตว์สังคมซึ่งจะต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โดยจะต้องมีผู้นำกลุ่มและมีแนวทางหรือวิธีการควบคุมดูแลกันภายในกลุ่มเพื่อให้เกิดความสุขและความสงบเรียบร้อย ซึ่งอาจเรียกว่าผู้บริหารและการบริหาร ตามลำดับ ดังนั้น ที่ใดมีกลุ่มที่นั่นย่อมมีการบริหาร คำว่า การบริหารและการบริหารจัดการ รวมทั้งคำอื่น ๆ อีก เป็นต้นว่า การปกครอง (government) การบริหารการพัฒนา การจัดการ และการพัฒนา (development) หรือแม้กระทั่งคำว่า การบริหารการบริการ (service administration) การบริหารจิตสำนึกหรือการบริหารความรู้ผิดรู้ชอบ (consciousness administration) การบริหารคุณธรรม (morality administration) และการบริหารการเมือง (politics administration) ที่เป็นคำในอนาคตที่อาจถูกนำมาใช้ได้ คำเหล่านี้ล้วนมีความหมายใกล้เคียงกัน ขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจในแต่ละยุคสมัยจะนำคำใดมาใช้โดยอาจมีจุดเน้นแตกต่างกันไปบ้าง อย่างไรก็ตาม ทุกคำที่กล่าวมานี้เฉพาะในภาครัฐ ล้วนหมายถึง

(1) การดำเนินงาน การปฏิบัติงาน แนวทาง(guideline) วิธีการ (method)หรือมรรควิธี (means)ใด ๆ

(2) ที่หน่วยงานของรัฐ และ/หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐนำมาใช้ในการบริหารราชการหรือปฏิบัติงาน

(3) ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

(4) เพื่อนำไปสู่จุดหมายปลายทาง (end หรือ goal) หรือการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้นกว่าเดิม เช่น มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปสู่จุดหมายปลายทางเบื้องต้น (primary goal) คือ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารราชการ หรือช่วยเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติราชการให้เป็นไปในทิศทางที่ดีกว่าเดิม หรือมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปสู่จุดหมายปลายทางสูงสุด (ultimate goal) คือ การพัฒนาประเทศที่ประเทศชาติและประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขอย่างยั่งยืน เป็นต้น และทุกคำดังกล่าวนี้ อาจมองในลักษณะที่เป็นกระบวนการ (process) ที่มีระบบและมีหลายขั้นตอนในการดำเนินงานก็ได้