1. การศึกษาการบริหารแบบคลาสสิค (Classical management approach)
- การจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ (Scientific management)
- การจัดการตามระบบราชการ (Bureaucratic management)
- การจัดการตามแบบหลักการบริหาร (Administrative management)
2. การศึกษาการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral management approach)- การศึกษาทางจิตวิทยาอุตสาหกรรม (industrial psychology approach)
- ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ (Hierarchy of needs theory) หรือทฤษฎีการจูงใจของมาสโลว์ (Maslow'stheory of motivation)
- ทฤษฎี X และทฤษฎี Y
3. การศึกษาการจัดการเชิงปริมาณ (The quantitative management approach)- ศาสตร์การจัดการ(Management science) หรือการวิจัยการปฏิบัติการ (Operation research)
- การจัดการปฏิบัติการ(Operations management)
- ระบบข้อมูลการจัดการ(Management System : MIS)
4. กลุ่มทฤษฎีการบริการ ที่เพิ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาในระยะหลังๆ(Recent development in managementtheory)
- ทฤษฎีระบบ(System theory)
- ทฤษฎีจัดการเชิงสถานการณ์(Contingency theory)
- ทฤษฎี Z ของ Ouchi- TQM : Total Quality Management
@ ทฤษฎีการศึกษาการบริหารแบบคลาสสิค(Classical management approach)การศึกษาการบริหารโดยทฤษฎีกลุ่มนี้ เป็นทฤษฎีที่มุ่งเน้นองค์การโดยรวมและวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลทฤษฎีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ (Scientific management)Frederick W. Taylor (1856-1915)เทย์เลอร์ ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ ปรัชญาการบริหารของเทย์เลอร์ได้แก่
- ทำการศึกษางานแต่ละส่วนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานแต่ละอย่าง
- ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงานและมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน
- มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
- แบ่งงานและความรับผิดชอบในงานเป็นส่วนต่าง ๆเทย์เลอร์ได้พัฒนาวิธีการจ่ายค่าจ้างต่อหน่วยแบบสองระดับ(Different rate system) ขึ้นมา
Henry L. Gantt (1861-1919)Gantt ได้พัฒนาวิธีจ่ายค่าตอบแทนแบบใหม่ ไม่ได้ใช้วิธีจ่ายค่าจ้างแบบสองระดับเหมือนเทย์เลอร์แต่ใช้วิธีให้สิ่งจูงใจGantt เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในฐานะเป็นผู้พัฒนาวิธีการอธิบายแผนโดยกราฟ(Gantt Chart)ซึ่งได้นำมาใช้ในการอธิบายถึงการวางแผน การจัดการ และการควบคุมองค์การที่มีความซับซ้อน โดยพัฒนามาเป็นCritical Path Method(CPM) ของบริษัท Du Pont และ Program Evaluation and Review Technique(PERT)ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา หรือได้พัฒนาประยุกต์มาจนเป็นเป็นโปรแกรม Lotus 1-2-3
Frank B. And LillianM. Gilbreth (1868-1924 & 1878-1972)Gilbreths เป็นอีกคู่หนึ่งที่สนใจศึกษาในเรื่องเวลาและการเคลื่อนไหวพวกเขาได้นำกล้องถ่ายรูปและภาพถ่ายมาใช้ศึกษาลักษณะการทำงานของมนุษย์ทฤษฎีการจัดการตามระบบราชการ (Bureaucratic management)Max Weber (1864-1920)องค์การควรจะถูกบริหารบนพื้นฐานของเหตุผล และไม่เป็นส่วนตัวลักษณะที่สำคัญขององค์การแบบราชการของเวเบอร์ คือ
- มีการแบ่งงานกันทำเฉพาะด้าน
- มีการระบุสายการบังคับบัญชาอย่างชัดเจน
- บุคคลจะถูกคัดเลือกและเลื่อนตำแหน่งบนพื้นฐานของคุณสมบัติทางเทคนิค
- การบริหารกับการเป็นเจ้าขององค์การจะถูกแยกจากกัน
- ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่บนพื้นฐานของความไม่เป็นส่วนตัว
- มีการกำหนดกฎและระเบียบวิธีปฏิบัติการไว้อย่างเป็นทางการทฤษฎีการจัดการตามแบบหลักการบริหาร (Administrative management)Henri Fayol (1841-1925)เป็นบิดาของทฤษฎีการจัดการการปฏิบัติการ(Operational management theory)หรือบางทางก็ถือกันว่าเป็นบิดาของการบริหารจัดการสมัยใหม่เขาเชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ และเขาสนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ (Managerial activities) ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมห้าอย่างคือการวางแผน(Planning), การจัดองค์การ(Organizing), การบังคับบัญชา หรือการสั่งการ (Commanding),การประสานงาน (Coordinating), และการควบคุม (Controlling)
@ ทฤษฎีการศึกษาการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์(Behavioral management approach)การบริหารเชิงพฤติกรรม จะมุ่งการเพิ่มประสิทธิภาพโดยการทำความเข้าใจมนุษย์ถ้าผู้บริหารได้เข้าใจพฤติกรรมของบุคคลและปรับองค์การให้สอดคล้องกับพวกเขาแล้วความสำเร็จขององค์การก็จะตามมาเองการศึกษาทางจิตวิทยาอุตสาหกรรม(Industrial psychology approach)ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ(Hierarchy of needs theory) หรือทฤษฎีการจูงใจของ มาสโลว์(Maslow's theory of motivation)Abraham Maslow (1908-1970)มาสโลว์ เป็นนักจิตวิทยาผู้เสนอแนวความคิดว่าบุคคลได้รับการกระตุ้นโดยความต้องการและจะกระทำเพื่อให้ได้รับการตอบสนองความต้องการตามลำดับขั้นทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ(Hierarchy of needs theory) ได้แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ขั้นตามลำดับตั้งแต่ความต้องการพื้นฐานต่ำสุดไปถึงสูงสุด คือ
- ความต้องการทางกายภาพ(Physiological needs)
- ความต้องการความปลอดภัย(Safety needs)
- ความต้องการทางสังคม(Social needs)
- ความต้องการยกย่องชื่อเสียง( Esteem needs)5. ความต้องการความสมหวังและความสำเร็จของชีวิต(Self-actualization needs)ทฤษฎี X และทฤษฎี Y ของ Douglas Mc GregorDouglas McGregor (1906-1964)ทฤษฎี X(Theory X) เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม โดยมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้นไม่ชอบงานและพยายามหลีกเลี่ยงงานทฤษฎี Y(Theory Y) เป็นปรัชญาการบริการจัดการ โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบมีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงานและไม่มีความเบื่อหน่ายในการทำงานแมคเกรเกอร์ ได้เรียกร้องให้ผู้บริหารเปลี่ยนแปลงมุมมองมนุษย์จากมุมมองตามทฤษฎี X ไปเป็นมุมมองตามทฤษฎีY
@ การศึกษาการจัดการเชิงปริมาณ(The quantitative management approach)เป็นทัศนะการจัดการซึ่งนำเทคนิคทางคณิตศาสตร์ เครื่องมือสถิติและข้อมูลมาเพื่อช่วยในการแก้ปัญหาทางการบริหารจัดการศาสตร์การจัดการ(Management science) หรือการวิจัยการปฏิบัติการ(Operation research)เป็นทัศนะการบริหารเชิงปริมาณซึ่งประยุกต์ใช้โมคณิตศาสตร์ในการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆผู้ตัดสินใจจะใช้หลักเกณฑ์เชิงปริมาณในการเลือกระหว่างทางเลือกต่าง ๆ ที่มีอยู่ โดยเฉพาะในการวางแผนการจัดการปฏิบัติการ(Operations management)เป็นการบริหารซึ่งใช้เทคนิคเชิงปริมาณเพื่อปรับปรุงผลผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าและบริการเช่น การจัดการสินค้าคงเหลือ (Inventory management)เพื่อปรับปรุงการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการระบบข้อมูลการจัดการ(Management System : MIS)เป็นการบริหารจัดการที่มุ่งการเก็บรวบรวมข้อมูล และการส่งข้อมูล เพื่อสนับสนุนหน้าที่การจัดการ เช่นการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
@ กลุ่มทฤษฎีการบริการที่เพิ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาในระยะหลังๆ(Recent development in managementtheory)ทฤษฎีระบบ(System theory)ทฤษฎีนี้เป็นทัศนะการบริหารที่มองว่าองค์การเป็นระบบที่ดำเนินงานอยู่ในสภาพแวดล้อมหมายถึงการรวมกันของส่วนต่าง ๆ ที่ดำเนินงานอยู่ระหว่างกันเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายร่วมกันระบบองค์การจะดำเนินอยู่บนพื้นฐานของส่วนประกอบห้าส่วน คือ
- ปัจจัยนำเข้า (Input)
- กระบวนการเปลี่ยนแปลง (Transformation process)
- ปัจจัยส่งออก (Outputs)
- สิ่งป้อนกลับ (Feedback)
- สภาพแวดล้อม (External environment)
ทฤษฎีจัดการเชิงสถานการณ์(Contingency theory)การบริหารจัดการเชิงสถานการณ์ จะมุ่งเน้นการปรับปรุงพฤติกรรมทางการบริหารให้เข้ากับสถานการณ์ขององค์การความสำเร็จหลักของการบริหารจะถูกกำหนดโดยสถานการณ์ไม่มีกลยุทธ์การบริหารอย่างเดียวที่สามารถใช้ได้กับสถานการณ์ทุกอย่างTQM : Total Quality ManagementTQM เป็นกลยุทธ์ขององค์การอย่างหนึ่งที่ส่งมอบผลิตภัณฑ์และ/หรือบริการที่มีคุณภาพให้แก่ลูกค้าการบริหารคุณภาพโดยรวมของ TQM จะมุ่งที่ลูกค้าอย่างแรงกล้าการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องนี้ถือว่าเป็นกระบวนการที่ไม่จบสิ้น จะมีการทำงานเป็นวงจร ที่เรียกว่า"วงจร เดมิ่ง" คือ วงจรของการวางแผน-ปฏิบัติ-ตรวจสอบ-แก้ไข (Plan-Do-Check-Action : PDCA)
ขออนุญาตนำไปใช้นะครับ
ตอบลบขอบคุณครับ ที่เปิดโอกาสแลแบ่งปันในสิ่งที่ดี ๆให้ จะนำไปใช้ในทางที่ถูกต้อง
ตอบลบอยากได้อ้างอิงด้วยน่ะครับ
ตอบลบ